วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การเต้นรำจังหวะ ชะ ชะ ช่า

การเต้นรำจังหวะช่ะ ช่ะ ช่า

สมาชิกในกลุ่ม

  1. นางสาวญาณิศา   พิสิฐธนกุล       ม.6/1    เลขที่  4
  2. นางสาวอาศยา     ประภาโส        ม.6/1    เลขที่  8
  3. นายจิรวัฒน์         จองศรีวรัตน์     ม.6/1    เลขที่ 10
  4. นายธนายุทธ       อัศววิญญเดช    ม.6/1   เลขที่ 12
  5. นายภคพล          ศรีสุพพัตพงษ์   ม.6/1   เลขที่ 17
  6. นายวิชญ์พล        เด่นดำรงทรัพย์  ม.6/1   เลขที่ 20

 

ประวัติความเป็นมา

                ในบรรดาจังหวะเต้นรำแบบละตินอเมริกันที่มีอยู่ด้วยกัน 5 จังหวะนั้น ช่ะ ช่ะ ช่า เป็นจังหวะเต้นรำที่มีกำเนิดหลังสุด กล่าวคือเป็นจังหวะที่รับการพัฒนามาจากจังหวะแมมโบ้ (Mambo) ซึ่งในอดีตเรียกชื่อจังหวะนี้เต็มๆ ว่า แมมโบ้ ช่ะ ช่ะ ช่า กําเนิดมาจากประเทศโดมินิกันและคิวบา การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากอิทธิพลของดนตรีที่พัฒนาไป ทำให้การเต้นรำพัฒนาตามไปด้วย
            
                ต้นกำเนิดของ ช่ะ ช่ะ ช่า เริ่มในปี ค.ศ. 1950 ในขณะที่ดนตรีของคิวบาได้รับความนิยมอยู่ในอังกฤษในขณะนั้น ได้มีเพลงจังหวะสวิง (Swing) ซึ่งเกิดใหม่และนิยมกันมากเข้ามามีบทบาทแทรกแซงผสมผสานกับดนตรีของคิวบา ทำให้เพลงของคิวบาที่เคยมีลักษณะนุ่มนวลเปลี่ยนเป็นเร็วขึ้น เครื่องดนตรีที่ใช้เคาะจังหวะเริ่มเล่นพลิกแพลงผิดเพี้ยนออกไป เริ่มเคาะให้ไม่ลงจังหวะ (Off Beat) สไตล์ของดนตรีที่พัฒนามานี้จึงได้ชื่อว่า “ แมมโบ้ ” และมีการสาธิตเต้นรำจังหวะแมมโบ้ ในการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการเต้นรำแบบบอลรูมที่แบลคพูลประเทศอังกฤษ (International Dance Congress In Blackpoll)

                รูปแบบการเต้นแมมโบ้พื้นฐานก็คือ ก้าวออกไปข้างหน้า 1 ก้าว แล้วถอยกลับ 2 ก้าว จากนั้นถอยหลัง 1 ก้าว แล้วก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว (ก้าวที่ 2 ย้ำอยู่กับที่) แมมโบ้ได้รับความนิยม ทั้งเพลงและการเต้นอย่างมากในอเมริกาและยุโรป ต่อมาแมมโบ้ได้พัฒนาจากที่เคยเร็วให้ช้าลง สำหรับการเต้นจากแมมโบ้ที่เคยเต้นเดินหน้า 3 ก้าวและถอยหลัง 3 ก้าวก็เพิ่มการชิดเท้าไล่กันไปข้างหน้า 2 ก้าว และชิดเท้าไล่กันไปข้างหลัง 2 ก้าว ซึ่งเป็นรูปแบบของ ช่ะ ช่ะ ช่า ในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก
                

                การเต้นรำจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า นี้ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยชาวฟิลิปปินส์ ชื่อ มิสเตอร์เออร์นี่ นักดนตรีของวง “ ซีซ่า วาเลสโก ” ได้นำลีลาการเต้น ช่ะ ช่ะ ช่า และการเขย่ามาลากัส (ลูกแซ็ก) มาประกอบเพลงเข้าไปด้วย ซึ่งลีลาการเต้นนี้เป็นที่ประทับใจบรรดานักเต้นรำและครูสอนลีลาศทั้งหลาย จึงได้ขอให้มิสเตอร์เออร์นี่สอนให้ การเต้น ช่ะ ช่ะ ช่า ตามแบบของมิสเตอร์เออร์นี่จึงถูกถ่ายทอดและมีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าในภายหลังได้มีการนำรูปแบบการเต้นที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลเข้ามาแทนที่แล้วก็ตาม

 

ลักษณะเพลงและการเต้น

    

    ดนตรีและการนับจังหวะ


  1. ดนตรีของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า มีท่วงทำนองที่สนุกสนานเร้าใจ และมีจังหวะเน้นเด่นชัดดนตรีจะเป็นแบบ 4/4 เหมือนกับจังหวะคิวบ้ารัมบ้า คือ ใน 1 ห้องมี 4 จังหวะ มีเสียงเน้นหนักจังหวะที่1
  2. การนับจังหวะสามารถนับได้หลายวิธี เช่น หนึ่ง- สอง – สามสี่ – ห้า หรือ หนึ่ง – สอง ช่ะ ช่ะ ช่า หรือนับก้าวจนครบตามจำนวนลวดลายพื้นฐาน หรือนับตามหลักสากลคือ นับตามจังหวะของดนตรี คือ สอง – สาม – สี่ และ – หนึ่ง โดยที่ก้าวแรกตรงกับจังหวะที่ 2 ของห้องเพลง

    

    ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี

    
        ดนตรีของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน 32 ห้องเพลงต่อนาที (30 – 40 ห้องเพลงต่อนาที)

     

    เอกลักษณ์เฉพาะ 

       
        กระจุ๋มกระจิ๋ม สนุกสนาน เบิกบาน การแสดงออกถึงความรักใคร่

    

    การก้าวเท้า

        
         เนื่องจากจังหวะ ชา ชา ช่า มีอยู่ 4 จังหวะ แต่ต้องก้าวเท้า 5 ก้าว ลักษณะการก้าวเท้าให้ลง   จังหวะดนตรี (2-3,4และ1) ทําได้ดังนี้

         ก้าวที่ 1 และ 2 ตรงกับจังหวะดนตรีที่ 2 และ 3 
         ก้าวที่ 3, 4, 5 ตรงกับจังหวะดนตรีที่ 4 และ 1 
         โดยรวบก้าวที่ 3, 4 ให้ตรงกับจังหวะที่ 4 ส่วนก้าวที่ 5 ตรงกับจังหวะที่ 1

         การก้าวเท้าในจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า ไม่ว่าจะเป็นการก้าวเท้าไปข้างหน้าหรือถอยหลัง จะต้องให้  ฝ่าเท้า (Ball of Foot) สัมผัสพื้นก่อนเสมอแล้วจึงราบลงเต็มเท้า การเต้นรำในจังหวะนี้จึงมีการใช้ฝ่าเท้ามากที่สุด และการใช้ตาต้องให้สัมพันธ์กับเข่า เพราะเมื่อมีการก้าวเท้าเข่าจะต้องงอเล็กน้อย หลังจากราบลงเต็มเท้าแล้วเข่าจึงตึง ส่วนเข่าอีกข้างก็จะงอเพื่อเตรียมก้าวต่อไป กล่าวได้ว่าตลอดเวลาของการใช้เท้านั้น เมื่อน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าใดส้นเท้านั้นจะต้องลดลง ดังนั้น จึงมีการสับเปลี่ยนการตึงและงอของช่วงขา พร้อมทั้งการลดลงและยกขึ้นของส้นเท้าสลับกันตามลำดับ ซึ่งการปฏิบัติในลักษณะนี้ทำให้สะโพกบิดไปมาสวยงามตามแบบการเต้นละตินอเมริกัน แต่ต้องระวังอย่าให้เป็นการจงใจทำเกินไปเพราะจะทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดูได้
          

        อย่างไรก็ตามในการฝึกระยะแรกไม่ควรกังวลเกี่ยวกับการใช้ ขา เข่า และเท้ามากนัก ควรฝึกฝนลวดลายการเต้นให้ถูกต้องตามจังหวะของดนตรีเสียก่อนจนเกิดความชำนาญ แล้วจึงค่อยกลับมาฝึกฝนการก้าวเท้าเพื่อให้เกิดความสวยงามในภายหลัง

    

      ทักษะการเต้นรำจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า

      
       1. สแควร์ (Square)
       2. การไขว้
       3. การหมุน

   

      ฟิกเกอร์พื้นฐาน

      
       1. Chasse
       2. Basic Movement
       3. Sport Turn
       4. New York
       5. Shoulder to Shoulder
       6. Hand to Hand
       7. Fan
       8. Hockey Stick 





 

แหล่งอ้างอิง 


http://tattwo-pe3.blogspot.com/
http://www.thaigoodview.com/node/50609 
http://learning.eduzones.com/67882/ศิลปะ%20ดนตรี/ลีลาศในประเทศไทย